ลำดวน

Picture
ชื่อไทย                    ลำดวน

ชื่ออื่น ๆ                   หอมนวล

ชื่อสามัญ                -

ชื่อวิทยาศาสตร์     Melodorum  fruticosum   Lour.

วงศ์                          ANNONACEAE

นิเวศวิทยา       ถิ่นกำเนิด  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ประเทศไทยพบได้ทั่วไปในป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณ ในภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ยกเว้นภาคใต้

การขยายพันธุ์        เมล็ด  การตอนกิ่ง

ลักษณะทั่วไป                   เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 8 - 12 เมตร  ไม่ผลัดใบ  เรือนยอดทรงกลม หรือรูปไข่หรือรูปกรวย  ทรงพุ่มแน่นทึบ  แตกกิ่งก้านในระยะต่ำ  แผ่ขยายกว้าง  เนื้อไม้แข็ง  ทนต่อสภาพความแห้งแล้งและน้ำท่วมขังได้ดี  เจริญเติบโตช้า 

                                            
เปลือก       สีน้ำตาลเข้ม  เรียบ  แตกเป็นร่องตื้น ๆ  เล็ก ๆ  ตามทางยาวของลำต้น
                                            
ใบ               ใบเดี่ยว  ออกเรียงสลับตรงกันข้าม  ใบรูปไข่ หรือรูปแกมขอบขนาน หรือรูปรี  กว้าง 2.5 - 3.5 เซนติเมตร  ยาว 6 - 10 เซนติเมตร  ปลายใบเรียวแหลม  โคนใบสอบมนและแคบ  ขอบใบเรียบ  แผ่นใบเรียบเกลี้ยง สีเขียวเป็นมัน  เส้นแขนงใบไม่ค่อยชัดเจน  ก้านใบยาว 0.4 - 0.6 เซนติเมตร
                                            
ดอก            สีเหลืองนวล  ดอกเดี่ยว  กลิ่นหอม  ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่งและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงขนาดเล็ก 3 กลีบ  มนเกือบกลม  กลีบดอก 6 กลีบ  หนามีขนนุ่ม แบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นนอก 3 กลีบ กว้าง 0.8 – 1.2 เซนติเมตร เมื่อบานแผ่ออก  ส่วนกลีบชั้นใน 3 กลีบ ขนาดเล็กกว่า จะหุบเข้าหากัน ดอกบานเต็มที่กว้าง 2.5 – 3.0 เซนติเมตร ออกดอกเกือบตลอดปี แต่จะออกมากในเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 
                                            
ผล              ผลสดแบบมีเนื้อออกเป็นกลุ่มๆ  ละ 20 - 25 ผล  ก้านผลยาว 2 - 3 เซนติเมตร  รูปร่างกลมหรือรูปไข่ ปลายแหลมเป็นติ่ง กว้าง 0.8 – 1.0 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียวนวล ผลแก่สีม่วงดำ รสหวานอมเปรี้ยว
                                            
เมล็ด          กลมหรือรี  สีน้ำตาลอมเหลือง กว้าง 0.3 - 0.5 เซนติเมตร ในหนึ่งผลมีเมล็ด 1 - 2 เมล็ด   
                                               
ประโยชน์                  เนื้อไม้แข็งทนทาน  นำมาใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้  ดอกแก้ไข้  แก้ลม  วิงเวียน  บำรุงหัวใจ  บำรุงโลหิต  ผลรับประทานได้
รวบรวมเรียบเรียงและถ่ายภาพโดย รองศาสตราจารย์ ชนะ    วันหนุน